วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

วัดพระพุทธบาทยโสธร

ประวัติ...วัดพระพุทธบาทยโสธร

สถานที่ตั้ง

หมู่ที่ ๓ ต.หัวเมือง อ.มหาชัยชนะ จ.ยโสธร
รายล้อมด้วยป่าไม้ และป่าละเมาะริมแม่น้ำชี มีเนื้อที่ประมาณ ๒๖๙ ไร่
แบ่งเป็นเขตที่ดินของโบราณสถาน และโบราณวัตถุ
มีอาณาเขตดังนี้...
ทิศเหนือ...จรดหนองน้ำกุดจอก
ทิศใต้...จรดหนองนำจุดจงอาง
ทิศตะวันออก...จรดแม่น้ำชี
ทิศตะวันตก...จรดทุ่งหญ้า ทุ่งนา

ความเป็นมา

เดิมบริเวรวัดฯ สันนิฐานว่าเคยเป็นที่ตั้งวัดมาก่อน และร้างมานานแล้ว โดยมีโบราณสถานโบราณวัตถุ ทียังคงสภาพให้เห็นจนถึงปัจจุบัน จำนวน ๓ รายการคือ

๑. รอยพระพุทธบาท (จำหลักจากหินทราย)







๒. พระพุทธรูปนาคปรก (พระพุทธรูปศิลาแลงปางนาคปรก หินทราย หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอก)











๓. เสาหิน (ศิลาจารึกหินทรายสูง 1 เมตร กว้าง 50 เซนติเมตร) จารึกอักขระตัวอักษรขอม และตัวบาลี (ตัวธรรม)
ซึ่งทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๒๗ ก.ย. ๒๔๗๘ และได้ประกาศราชกิจจานะเบกษา เล่มที่ ๕๓ ตอนที่ ๓๔ และได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานและโบราณวัตถุ บริเวณพระพุทธบาท พระพุทธรูปนาคปรก และเสาหิน จำนวน ๓๘ - ๒ - ๕๘ ไร่ เมื่อวันที่ ๑๐ มิ.ย. ๒๕๑๘

บูรณะวัด

ต่อมาพระเดชพระคุณพระราชมุนี (หลวงปู่โฮม โสภโณ) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ได้ธุดงค์และพักภาวนาตรงบริเวณใกล้พระพุทธบาท ท่านได้นำชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น และได้มอบให้ นายนรินทร์ บุญราช เป็นผู้ทำเรื่องเสนอขออนุญาตต่ออธิบดีกรมการศาสนา ตั้งแต่วันที่ ๒ ต.ค. ๒๕๑๖ และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดโดยใช้ชื่อว่า " วัดพระพุทธบาทยโสธร" เมื่อวันที่ ๒๙ พ.ย. ๒๕๑๗

ครั้งถึงปี ๒๕๑๘ พระครูโพธิวราลังการ (หลวงพ่อบัลลังก์) ได้มาจำวัดและปฏิบัติธรรมที่วัดพระพุทธบาทยโสธร ท่านได้พัฒนาและสร้างเสนาสนะเพิ่มขึ้น จนในวันที่ ๑ ม.ค. ๒๕๒๓ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดฯ จนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น: